อดีตผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ 13
พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ผู้บัญชาการทหารบกลำดับที่ ๑๓ ( ระหว่าง ๖ สิงหาคม ๒๔๘๗ - ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๗ )
วันเกิด ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๓๙ อสัญกรรม ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๗
เป็นบุตรนายจิ้น และนางเพียร จินตะคุณ ภริยา คือ นางเกรียงศักดิ์พิชิต (ชื่น จินตะคุณ)
การศึกษา
- อายุ ๙ ปี ศึกษากับอาจารย์ไล้ วัดบางบำหรุ
- สำเร็จชั้นประถมที่โรงเรียนวินัยชำนาญ
- สำเร็จชั้นมัธยม ๒ จากโรงเรียนราชบูรณะ
- นักเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
- พ.ศ.๒๔๕๘ นักเรียนทำการนายร้อย กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ ลพบุรี
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๔๕๘ รับพระราชทานยศว่าที่นายร้อยตรี และนายร้อยตรีตามลำดับ
- พ.ศ.๒๔๖๐ ลาออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการในปีเดียวกัน
ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒
- พ.ศ.๒๔๖๔ ประจำโรงเรียนทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม
รับพระราชทานยศนายร้อยโท
- พ.ศ.๒๔๖๘ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๘ เชียงใหม่
- พ.ศ.๒๔๗๐ รับพระราชทานยศนายร้อยเอก
ผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๗ พิษณุโลก
- พ.ศ.๒๔๗๑ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๕ กองพันที่ ๘ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔
นครสวรรค์ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนเกรียงศักดิ์พิชิต
- พ.ศ.๒๔๗๓ ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
- พ.ศ.๒๔๗๖ ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
รับพระราชทานยศนายพันตรี ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- พ.ศ.๒๔๗๗ หัวหน้าแผนกที่ ๓ กรมจเรทหารบก
รับพระราชทานยศนายพันโท
- พ.ศ.๒๔๗๘ รักษาราชการแทนผู้บังคับการกรมป้องกันต่อสู้อากาศยาน
- พ.ศ.๒๔๘๐ รับพระราชทานยศนายพันเอก
รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑
รักษาราชการแทนเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๘๒ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
รักษาราชการผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๘๔ รับพระราชทานยศนายพลตรี
- พ.ศ.๒๔๘๕ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๘๖ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รับพระราชทานยศพลโท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รับพระราชทานยศพลเรือโท และพลอากาศโท
- พ.ศ.๒๔๘๗ ผู้บัญชาการทหารบก และแม่ทัพบก ประจำกรมเสนาธิการ
จเรทหารทั่วไป
- พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ออกจากประจำการเป็นนายทหารกองหนุน
ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๗๖ กรรมการศาลพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๘๐ ราชองครักษ์เวร
- พ.ศ.๒๔๘๕ ประธานกรรมการพิจารณาวินัยข้าราชการ และผู้อำนวยการป้องกันภัยทางอากาศแห่งราชอาณาจักร
- พ.ศ.๒๔๘๗ ประธานกรรมการบำรุงขวัญของชาติ
- พ.ศ.๒๔๘๙ กรรมการจัดการสลากกินแบ่งของรัฐบาล
- พ.ศ.๒๔๙๐ สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ.๒๔๙๑ นายทหารพิเศษประจำกองทัพบก
- พ.ศ.๒๔๙๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- พ.ศ.๒๔๙๗ กรรมการสาขาเศรษฐกิจการพาณิชย์ในสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ
- พ.ศ.๒๔๙๘ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑รักษาพระองค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษก (เงิน)
- พ.ศ.๒๔๗๔ เหรียญจักรมาลา เบญจมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญที่ระลึกงานฉลองพระมหานคร
- พ.ศ.๒๔๘๐ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๘๑ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๒
- พ.ศ.๒๔๘๒ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๘๔ เหรียญชัยสมรภูมิ (อินโดจีน) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๘๖ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน (คราวสงครามมหาเอเชียบูรพา) ประถมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๓ เหรียญบรมราชาภิเษก (ทอง) รัชกาลที่ ๙
ผลงานที่สำคัญ
- พ.ศ.๒๔๗๕ ร่วมมือกับคณะราษฎร์ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
- พ.ศ.๒๔๗๖ เกิดกบฏบวรเดช ได้นำทหารเข้าร่วมกับกองทัพของ พันโท หลวงพิบูลสงครามจน สามารถปราบกบฏลงได้
- พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ เกิดกรณีพิพาทชายแดนด้านอินโดจีนฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพด้านอีสาน และสามารถนำกองทัพรุกเข้าตีข้าศึกจนได้นครจำปาศักดิ์กลับคืนมา